บริการ
                                - ให้คำปรึกษาเรื่องโรคเบาหวาน
                                - ตรวจรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน

                      เปิดบริการ

                                - ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานแพทย์จะนัดมาวันอังคารและวันพฤหัสบดี
                                  ของทุกสัปดาห์ ผู้ป่วยเบาหวานแพทย์จะนัด 3 เดือนต่อ 1 ครั้ง

                      แพทย์ผู้ให้บริการ
                                - นพ.วิชัย   ผลิตนนท์เกี่ยรติ     นายแพทย์เชี่ยวชาญ
                                - นพ.สรรคเพชร  หอมสมบัติ     นายแพทย์ปฏิบัติการ
                                - นพ.พศิน  หิรัญหลาย             นายแพทย์ปฏิบัติการ
                                - พญ.เอื้องนภา   คงถาวร         นายแพทย์ปฏิบัติการ

                             


                               
                        โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง และก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ ก่อให้เกิดปัญหากับ 
   ฟันและเหงือก ตา ไต หัวใจ หลอดเลือดแดง ท่านผู้อ่านสามารถป้องกันโรคแทรกซ้อนต่างๆได้ 
   โดยการปรับ อาหาร การออกกำลังกาย และยาให้เหมาะสม ท่านผู้อ่านสามารถนำข้อเสนอแนะ
    จากบทความนี้ไปปรึกษากับแพทย์ที่รักษาท่านอยู่ ท่านต้องร่วมมือกับคณะแพทย์ที่ทำการรักษา
    เพื่อกำหนดเป้าหมายการรักษา บทความนี้เชื่อว่าจะช่วยท่านควบคุมเบาหวานได้ดีขึ้น
                โรคเบาหวานคืออะไร

           อาหารที่รับประทานเข้าไปส่วนใหญ่จะเปลี่ยนจะเปลี่ยนเป็นน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือด
เพื่อใช้เป็นพลังงาน เซลล์ในตับอ่อนชื่อเบต้าเซลล์เป็นตัวสร้างอินซูลิน อินซูลินเป็นตัวนำน้ำตาลกลูโคสเข้าเซลล์เพื่อใช้เป็นพลังงาน โรคเบาหวานเป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เกิดเนื่องจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือประสิทธิภาพของอินซูลินลดลงเนื่องจากภาวะดื้อต่ออินซูลินทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอยู่เป็นเวลานานจะเกิดโรคแทรกซ้อนต่ออวัยวะต่างๆ เช่น ตา ไต และระบบประสาท
                    ใครมีโอกาสเป็นโรคเบาหวาน
           สาเหตุของการเกิดโรคเบาหวานยังไม่ทราบแน่นอน แต่องค์ประกอบสำคัญที่อาจเป็นต้นเหตุ
ของการเกิดได้แก่ กรรมพันธุ์ อ้วน ขาดการออกกำลังกาย หากบุคคลใดมีปัจจัยเสี่ยงมากย่อมมี่โอกาสที่จะเป็นเบาหวานมากขึ้น 
                    ใครที่ควรจะต้องเจาะเลือดหาโรคเบาหวาน
           
ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สองพบมากและมักจะวินิจฉัยไม่ได้ในระยะแรก การที่มีภาวะน้ำตาลสูง
 เป็นเวลานานๆทำให้เกิดการเสื่อมของอวัยวะต่างๆเช่น ตา หัวใจ ไต เส้นประสาท เส้นเลือด นอกจากนี้ยังพบว่ามีโรคความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในโลหิตสูงร่วมด้วย ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งในการวินิจฉัยให้เร็วที่สุด
      เพื่อลดภาวะแทรกซ้อน การตรวจคัดกรองเบาหวานในผู้ใหญ่ที่ไม่มีอาการ
ผู้ที่สมควรได้รับการเจาะเลือดตรวจตรวจหาเบาหวาน คือ
             -
ประวัติครอบครัวพ่อแม่ พี่ หรือ น้อง เป็นเบาหวานควรจะตรวจเลือดแม้ว่าคุณจะไม่มีอาการ 
             - อ้วน ดัชนีมวลกายมากกว่า27% หรือน้ำหนักเกิน20%ของน้ำหนักที่ควรเป็นสำหรับประเทศในเอเซีย
               เราพบว่าเมื่อดัชนีมวลกายมากกว่า 23 จะพบผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานมากดังนั้นแนะนำว่าควรจะเจาะเลือด
               ตรวจเบาหวานเมื่อดัชนีมวลกายมากกว่า 25
             - อายุมากกว่า45ปี
             - ผู้ที่ตรวจพบ IFG หรือ IGT
             - ความดันโลหิตสูงมากกว่า140/90 mmHg

             - ระดับไขมัน HDL น้อยกว่า35 มก%และหรือ TG มากกว่า250 มก.%
             - ผู้ที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย
             - ประวัติเบาหวานขณะตั้งครรภ์หรือน้ำหนักเด็กแรกคลอดมากกว่า 4 กิโลกรัม



         

view